jjjinsur.com ประกันรถถูกๆ ต่อง่าย คุ้มครองเลย

ขับรถชนคน ต้องทำอย่างไร

ขับรถชนคน ต้องทำอย่างไร

ขับรถชนคน ต้องทำอย่างไร การขับขี่รถยนต์ เรื่องที่คอยกังวล นอกจากการขับชนสิ่งของต่างๆ หรือชนกับรถด้วยกันแล้ว สิ่งที่กังวลเป็นอย่างมากคือ การขับรถชนคน หรือชนกับรถด้วยกัน แต่ถึงขั้นเสียชีวิต ?เรื่องแบบนี้ คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น และไม่อยากพบเจอกับตัวเองอย่างแน่นอน

แต่ถ้าเกิดขึ้นมาแล้ว ขับรถชนคน ต้องทำอย่างไร ไปดูกัน …..



1.ห้ามหนี

= ไม่ว่าคุณเอง จะเป็นฝ่ายถูก คือเขาตัดหน้า หรืออะไรก็ตามแต่ หรือเป็นฝ่ายผิด ก็ห้ามหนีอย่างเด็ดขาด

เพราะ  พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 78  ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ใดขับรถ หรือ ขี่ หรือ ควบคุมสัตว์ในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์หรือไม่ก็ตามต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือ พร้อมแสดงตัว ของผู้พบเหตุการณ์ กับต้องแจ้งชื่อตัวชื่อสกุลและที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย

ถ้าหากไม่แสดงตัว หรือหลบหนีไป ให้สันนิษฐานว่า เป็นผู้กระทำความผิด และให้ตำรวจมีอำนาจยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่ จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ถ้าเจ้าของหรือผู้ครอบครองไม่แสดงตัวต่อตำรวจภายใน 6 เดือนนับแต่วันเกิดเหตุ ให้ถือว่ารถนั้นเป็นทรัพย์สินซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำความผิดและให้ตกเป็นของรัฐ


2. ดูและประเมินสถานการณ์

= กรณีบาดเจ็บเล็กน้อย ให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น  เท่าที่เราพอจะสามารถทำได้ แต่ถ้าเป็นกรณีที่บาดเจ็บหนัก กระดูกหัก หรือคนเจ็บ ไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ !!! อย่า ทำเองเด็ดขาด

ให้โทรแจ้งรถพยาบาล เบอร์โทรตอนแจ้งอุบัติด่วนบนท้องถนน โทร 1669


3.โทรแจ้งบริษัทประกันภัย

= หากรถยนต์คันที่มีประกันภัยอยู๋แล้ว ท่านสามารถโทรหาบริษัทประกันภัยได้เลย ไม่ว่าคุณจะทำประกันภัยรถยนต์ชั้นไหนไว้ ตั้งแต่ ชั้น 3ธรรมดา ไปจนถึง ชั้น 1 จะมีความคุ้มครองในเรื่องของการคุ้มครองชีวิตบุคคลภายนอกอยู่แล้ว และให้ฝากบริษัทประกันภัย ประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยเลยก็ได้เช่นกัน


4.รวบรวมหลักฐานทั้งหมด

= ขณะเกิดเหตุ ขอให้มีสติให้มากที่สุด ถ้าหากว่าเราเป็นฝ่ายถูกด้วยแล้วหละก็ ท่านใดที่ไม่มีกล้องติดหน้ารถยนต์ หรือมี ทางที่ดีควรถ่ายภาพ หรือวิดีโอ บันทึกเหตุการณ์เอาไว้ด้วย ว่าอยู่บริเวณใด และอยู่ในลักษณะไหน เพราะเวลาคู่กรณีของคุณ ฟ้องร้อง เราจะใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ รวมถึง ใบเสร็จหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ขณะเกิดเหตุทั้งหมด


ในข้อกฏหมาย

ตาม มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

ประมาท คือการกระทำที่ขาดความระมัดระวัง หรือ ระวังแล้วแต่ไม่เพียงพอตามวิญญูชนพึงถือปฏิบัติซึ่งไม่ใช่เจตนา

เรื่องการประมาท ศาลมักจะให้โอกาสปรับปรุงตน ซึ่งทั่วไปแล้ว โทษจำคุกมักจะรอลงอาญา เว้นแต่บุคคลนั้นเคยกระทำความผิดเช่นว่านั้น หรือเคยรอลงอาญามาก่อนแล้วยังมากระทำความผิดซ้ำอีก เช่นนี้ศาลจะพิจารณาลงโทษเลยและไม่เพียงแต่ลงโทษในคดีความใหม่เท่านั้น แต่จะรวมเอาโทษที่รอลงอาญาอยู่ก่อนนั้นมาลงโทษด้วยทันที



กรณีชนแล้ว ผู้ที่ถูกชนเสียชีวิต


= ถ้าเราผิด หรือประมาทร่วม คดีนี้เป็นคดีอาญา ถ้าญาติหรือผู้มีส่วนได้เสียไม่ยอม และเรียกค่าสินไหมทดแทน จนคดีดำเนินมาถึงศาล ศาลท่านก็จะพิจารณาว่ามีเจตนามั้ย ถ้าไม่ได้เจตนาหรือแค่ประมาท ประกอบกับหลังเกิดเหตุแล้ว ได้พยายามช่วย หรือออกค่ารักษาพยาบาลให้ตามสมควร ศาลจะพิจารณาว่าสำนึกในความผิดและไม่มีเจตนา ทำนองนั้น จะช่วยลดหย่อนได้หลายอย่าง เช่น โทษ หรือ เงินชดเชย จากหนักเป็นเบา

  • ถ้ากรณีหนี แล้วถูกจับได้ หรือตามตัวได้ จะอ้างตกใจและยังไม่ทันมอบตัวไม่ได้แล้ว ก็จะกลายเป็นชนแล้วหนีทันที เป็นข้อแก้ต่างซึ่งจะฟังไม่ขึ้นในชั้นศาล
  • ถ้ากรณีหนีหายเลย นี่ผิดเต็มๆ ไม่ว่าจะถูกตามเรื่องจริง เพราะศาลจะมองว่า ถ้าไม่ผิดจะหนีทำไม …. ซึ่งตำรวจมีอำนาจที่จะยึดรถที่ขับไว้ได้ จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
  • สำหรับบันทึกประจำวันของตำรวจที่ได้ลงบันทึกไว้ หากมีข้อความว่า “ผู้ขับขี่ได้บรรเทาทุกข์เบื้องต้นอย่างใส่ใจและครบถ้วนจนทำให้ผู้บาดเจ็บพอใจในระดับหนึ่ง” ตรงนี้สำคัญมากๆครับ เพราะเมื่อถึงตอนศาลอ่านพบ มันทำให้ศาลพูดได้ว่า “จำเลยได้สำนึกผิดและให้การช่วยเหลือด้วยดีมาโดยตลอด”
  • การยอมรับสารภาพผิดเพื่อให้คดีจบเร็วขึ้นและได้รับการลดหย่อนโทษ “ขับขี่โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ (สาหัสหรือตาย)” จะมีโทษทัณฑ์ตามลำดับ คือ ตัดแต้ม..ยึดใบอนุญาต..ปรับ..ทั้งจำทั้งปรับ ถ้าคุณสู้คดี โอกาสที่จะชนะมีแต่น้อยมาก
  • กรณีเสียชีวิต แล้วคุณยอมรับผิด ดีที่สุดคือ การเจรจาค่าทำขวัญกับญาติของเขาให้จบไป เพราะถ้าเรามีประกันภัยรถยนต์อยู่แล้ว สามารถให้ทางบริษัทประกันภัยเจรจาร่วมชดใช้ ตามความคุ้มครองของเราที่ทำไปได้ แต่ญาติผู้ตายมักเรียกร้องเกินกว่าที่ประกันภัยจะยอมชดใช้ ก็อยู่ในวิจารณญาณของคุณ ถ้าคุณยอมจ่ายส่วนที่เกินแล้วเรื่องจบ ตำรวจนัดคู่กรณีมาบันทึกความตกลง ญาติผู้เสียหายยอมแล้ว โทษทางกฏหมายก็ไม่ถึงขั้นจำคุก
  • กรณีพิการตลอดชีวิต ถ้าตกลงค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาลกันได้ที่เงินก้อนหนึ่ง ก็ให้ไปทำความตกลงกันที่สถานีตำรวจเจ้าหน้าที่ เขาจะได้ไม่มาเรียกร้องค่าเสียหายกับคุณตลอดชีวิต
    ….ข้อควรจำ ….แม้จะพูดจากันเข้าอกเข้าใจดี ก็อย่าตกลงกันเอง ให้เจ้าหน้าที่บันทึกไว้เป็นหลักฐานเสมอ มิฉะนั้น คุณอาจจะต้องเสียใจในภายหลังเมื่อคนที่ดูเหมือนง่าย กลายเป็นคนที่เขี้ยวลากดินที่สุดเท่าที่คุณเคยเจอมา
    ถ้าตกลงกันไม่ได้ ตำรวจก็ทำสำนวนส่งฟ้องศาล ก็แล้วแต่ว่า ศาลจะพิจารณาตัวเลขที่เหมาะสมอย่างไร โดยดูจากสภาพความพิการ ฐานะทางการเงินของทั้งสองฝ่าย ยิ่งสู้คดีกันยาวๆ คนเจ็บก็จะยิ่งเสียเปรียบครับ ไม่มีโอกาสที่จะได้เปรียบมากขึ้นๆ ส่วนตัวคุณผู้ขับรถชนคนพิการ มีสภาวะทางจิตที่ต้องเยียวยาไม่แพ้กัน
  • สำหรับคนที่ทำผิดครั้งแรก ไม่เคยรับโทษคดีอาญามาก่อน อาจจะมีโทษครึ่งหนึ่งตามเจตนา หรือรอลงอาญา ทั้งนี้ดูจากเจตนาและสถานที่เกิดเหตุ



การดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่

= ในชั้นนี้ พนักงานสอบสวนก็จะทำการสืบสวน-สอบสวน และแจ้งข้อกล่าวหากับผู้ขับขี่ที่ประมาท ถ้าคดีนั้นมีผู้เสียชีวิต พนักงานสอบสวนก็จะทำการควบคุมตัวผู้ต้องหาไว้
ถ้ามีประกัน และกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนั้นมีการซื้อประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญาเอาไว้ บริษัทประกันภัยจะเข้ามาช่วยเหลือนำหลักทรัพย์มาประกันตัว ( ซึ่งปกติ จะมีอยู่ในกรมธรรมภาคสมัครใจแทบทุกฉบับอยู่แล้ว แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกรมธรรม์ที่ทำ โดยปกติ จะอยู่ที่ 200,000 – 300,000 แต่ก็มีบางกรมธรรม์ ที่ค่าประกันตัวผู้ขับขี่ จะอยู่ที่ 100,000 (ชั้น 1 โลคอส)

ในขั้นต่อไป พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี จะทำการสรุปสำนวนรายงานการสอบสวนพร้อมพยานหลักฐานต่างๆ ซึ่งจะมีการกำหนดระยะเวลาเอาไว้ประมาณ 90 วัน
เมื่อ สืบสวน-สอบสวนเรียบร้อยแล้วก็จะนำเสนอให้กับผู้กำกับการ เพื่อขอความเห็นชอบเป็นคำสั่งตามความเห็นของพนักงานสอบสวน ซึ่งจะมีการสรุป ออกเป็น 3 แนวทางคือ
1. งดการสอบสวน
2. สั่งไม่ฟ้อง
3. สั่งฟ้อง

จากนั้น เจ้าหน้าที่ จะส่งสำนวน

สำหรับในชั้นพนักงานอัยการ เมื่อพนักงานสอบสวนจะส่งรายงานการสอบสวนไปยังอัยการ ก็จะแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ และจะได้แจ้งให้ทางบริษัทประกันภัยเตรียมหลักทรัพย์เพื่อการประกันตัวในชั้นอัยการอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอัยการจะตรวจสำนวนรายงานการสอบสวน และจะมีความเห็นใน 2 ทางคือ

เห็นตามรายงานการสอบสวน หรือ เห็นตรงกันข้ามกับพนักงานสอบสวน เช่น พนักงานสอบสวนสั่งฟ้องผู้ต้องหา แต่อัยการว่าสั่งไม่ฟ้อง คดีก็จบในชั้นอัยการ ถ้าฝ่ายผู้ตายไม่เห็นด้วยก็จะฟ้องเราเอง
หากอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง ก็จะมีการส่งตัวผู้ต้องหาและสำนวนสั่งฟ้องไปยังศาลต่อไป

เมื่อสำนวนคดีที่สั่งฟ้องไปถึงชั้นศาล เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่บริษัทประกันภัยขอประกันตัวในชั้นศาลได้ และจะมีการแต่งตั้งทนายความเข้ามาเพื่อดำเนินการทางคดีกฏหมายต่อไป

อย่างไรก็ตาม หากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับคุณ ก็อย่าได้หนี หรือตกใจไป ยิ่งถ้าคุณมีประกันภัยรถยนต์อยู่แล้ว ก็จะยิ่งช่วยจัดการปัญหาและชดใช้ค่าเสียหายให้กับเราดังที่กล่าวได้


ที่มา อ้างอิงเรื่องข้อกฏหมายโดย ทนายภูมิ


ด้วยความปรารถนาดีจาก เพจ ประกันรถถูกๆ ต่อง่ายๆ คุ้มครองเลย

สาระน่ารู้เรื่อง ประกันรถยนต์ที่ จริงจัง จริงใจ จริงจริง ♥

สนใจซื้อประกันรถยนต์ คลิ๊ก


Scroll to Top