ป้ายทะเบียนรถ มีแบบไหนบ้าง เชื่อว่าคนใช้รถ ใช้ถนน ต้องเกิดความสงสัยกันบ้างแหละว่า รถยนต์มากมายที่ขับอยู่นั่น ล้วนแล้วแต่มีสีของแผ่นป้าย สีของตัวหนังสือ ที่แตกต่างกันออกไป และแต่ละสี แต่ละแบบ ความหมายของมันคืออะไร คงน้อยคนนั้นจะทราบกัน แต่ก็มีอยู่ 1 ป้าย ที่ทุกคนรู้จักและเข้าใจความหมายเหมือนกันคือ ป้ายแดง ซึ่งความหมายของมัน คือรถคันใหม่ ที่พึ่งออกจาศูนย์มาเลยนั่นเอง และวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูพร้อมๆกันว่า ป้ายทะเบียนรถ มีแบบไหนบ้าง ความหมายของมันคืออะไร ไปกันเลยค้าาาาาาา
มีการให้นโยบายกับทุกสถานีตำรวจ ให้กวดขันเรื่องการไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน การทำแฟชั่นดัดแปลงป้าย และแผ่นป้ายทะเบียนเลอะเลือน เช่น การขูดออก หรือมีวัสดุอื่นปิดบัง ใช้เครื่องหมายที่นายทะเบียนออกให้ไปใช้อีกคัน ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน หรือ ติดแผ่นป้ายทะเบียนของทางราชการปรับแต่งพับเอียงได้ ไม่ติดตรึงกับรถทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้เห็นได้ไม่ชัดเจน และเป็นที่สังเกตว่าอาจจะนำไปก่ออาชญากรรมได้
การกระทำในลักษณะดังกล่าว เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 (กฎกระทรวง พ.ศ. 2547) มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท เดิมตำรวจเคยจับปรับราว 100-200 บาท ขณะนี้ได้ให้นโยบายใหม่ปรับเต็มที่ 1,000 บาท
กรณีปลอมป้ายทะเบียนทั้งฉบับถือเป็นคดีอาญา เข้าข่ายการปลอมเอกสาร มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี ปรับ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทซึ่ง สถิติการจับปรับในปัจจุบันกรณีการไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนทั่วกรุงเทพฯ เฉลี่ยเดือนละกว่า 5,000 ราย
ลักษณะป้ายทะเบียนรถที่ถูกต้อง
ป้ายทะเบียนที่ออกโดยกรมขนส่งในปัจจุบัน ตัวแผ่นป้ายต้องทำจากโลหะ อลูมีเนียม ที่มีขนาดมาตรฐาน คือ “13.5×6 นิ้ว” โดยมีเลขทะเบียนรถยนต์ในการระบุรถยนต์ หรือ ยานพาหนะประเภทอื่นๆ ตัวเลขจะมีลักษณะถูกปั๊มนูนขึ้นมาจากแผ่นป้ายทะเบียน ส่วนพื้นป้ายจะมีสีและลักษณะที่แตกต่างกันไป เพื่อแบ่งแยกประเภทของรถยนต์ได้อย่างชัดเจน สำหรับป้ายทะเบียนที่ถูกกฎหมายนั้น กรมการขนส่งทางบกซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลรถตามกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 โดยใช้แผ่นป้ายทะเบียนรถตามประเภทของรถ ดังนี้
- รถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ แบ่งออกเป็น 17 ลักษณะ คือ
1. ป้ายสีขาวอักษรดำ = รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ( รถยนต์ , รถจักรยานยนต์ )
2. ป้ายขาวอักษรฟ้า = รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ( รถตู้ )
3. ป้ายสีขาวอักษรสีเขียว = รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ( รถกระบะ )
4. ป้ายสีขาวอักษรสีแดง = รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
5. ป้ายสีเหลืองอักษรสีแดง = รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด
6. ป้ายสีเหลืองอักษรสีดำ = รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน ( แท็กซี่ , รถจักรยานยนต์รับจ้าง )
7. ป้ายสีเหลืองอักษรสีฟ้า = รถยนต์สี่ล้อเล็กรับจ้าง
8. ป้ายสีเหลืองอักษรสีเขียว = รถยนต์รับจ้างสามล้อ
9. ป้ายสีเขียวอักษรสีขาว/ดำ = รถยนต์บริการธุรกิจ , รถยนต์บริการทัศนาจร , รถยนต์บริการให้เช่า
10. ป้ายสีแสด/ส้มอักษรสีดำ = รถแทรกเตอร์ , รถบดถนน , รถใช้งานเกษตรกรรม , รถพ่วง
11. ป้ายสีขาวอักษรสีดำ = รถยนต์ของคณะผู้แทนทางการทูต จะมีตัวอักษร ท นำหน้า / รหัสประเทศ / ขีด และตามด้วยทะเบียนรถ
12. ป้ายทะเบียนสีฟ้าอักษรสีขาว = รถยนต์ของบุคคลในหน่วยงานพิเศษสถานทูตจะใช้ตัวอักษร พ นำ/ รหัสประเทศ / ขีด แล้วตามด้วยหมายเลขทะเบียนรถ
คณะผู้แทนทางกงศุลจะใช้ตัวอักษร ก นำ/ รหัสประเทศ / ขีด แล้วตามด้วยหมายเลขทะเบียนรถ
องค์การระหว่างประเทศ / ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ จะใช้ตัวอักษร อ นำ/ รหัสประเทศ / ขีด แล้วตามด้วยหมายเลขทะเบียนรถ
13. ป้ายแดงอักษรสีดำ = ( ป้ายแดง ) ความหมายจริงๆ ของป้ายแดงนั้น คือแผ่นป้ายที่ออกให้ทดแทน บ่งบอกว่ารถยนต์นั้นๆ ยังไม่มีการรับรองการจดขึ้นทะเบียนเรียบร้อยตามกฎหมาย หมายความว่ารถคันดังกล่าวสามารถขับขี่บนท้องถนนได้ชั่วคราวและต้องอยู่ในข้อกำหนดของ กรมการขนส่งทางบกอย่างเคร่งครัด
14. ป้ายเป็นรูปทิวทัศน์แต่ละจังหวัด อักษรสีดำ = ป้ายลายกราฟฟิคสวยงามที่คุณเห็นตามท้องถนน หมายถึงป้ายที่ได้รับมาจากการประมูล ซึ่งจริงๆแล้วจุดเด่นจะอยู่ที่ตัวเลขทะเบียน ที่เขาเรียกกันว่า “ เลขทะเบียนสวย ” เปิดประมูลโดยกรมขนส่งทางบก เป็นทะเบียนรถสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ( รถยนต์ทั่วไป )
- รถตาม พ.ร.บ การขนส่งทางบก แบ่งออกเป็น รถโดยสารและรถบรรทุก โดยใช้แผ่นป้ายทะเบียนดังนี้
1.รถโดยสาร
- รถโดยสารประจำทาง เลขทะเบียนขึ้นต้นด้วยเลข 10-19 ป้ายสีเหลืองอักษรสีดำ
- รถโดยสารขนาดเล็ก เลขทะเบียนขึ้นต้นด้วย 20-29 ป้ายสีเหลืองอักษรสีดำ
- รถโดยสารไม่ประจำทาง เลขทะเบียนขึ้นต้นด้วย 30-39 ป้ายสีเหลืองอักษรสีดำ
2. รถบรรทุก
- รถบรรทุกไม่ประจำทาง พื้นแผ่นป้ายสีเหลือง เลขทะเบียนขึ้นต้นด้วย 70-79
- รถบรรทุกส่วนบุคคล พื้นแผ่นป้ายสีขาว เลขทะเบียนขึ้นต้นด้วย 80-89
ด้วยความปรารถนาดีจาก เพจ ประกันรถถูกๆ ต่อง่ายๆ คุ้มครองเลย
สาระน่ารู้เรื่อง ประกันรถยนต์ที่ จริงจัง จริงใจ จริงจริง ♥
สนใจซื้อประกันรถยนต์ คลิ๊ก