fbpx

jjjinsur.com ประกันรถถูกๆ ต่อง่าย คุ้มครองเลย

รถจมน้ำ ควรตรวจเช็คอะไรบ้าง

รถจมน้ำ ควรตรวจเช็คอะไรบ้าง

รถจมน้ำ ควรตรวจเช็คอะไรบ้าง เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ทำให้หลายๆคนเกิดความกังวลกันมากมาย เพราะแน่นอนอยู่แล้วเมื่อน้ำมันท่วม มันจะเกิดขึ้นจนเราเองนั่นตั้งตัวไม่ทัน จนบางครั้งอาจทำให้ทรัพย์สินของเรานั่นเสียหายไปหลายอย่าง และก็คงหนีไม่พ้น รถยนต์ของเรานั้นเอง เพราะการซ่อมรถยนต์ที่จมน้ำในระยะเวลาที่เกิน 1 วัน นั้นนับว่าเป็นเรื่องค่อนข้างยากเลยทีเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญทางโดยตรงที่จะสามารถตรวจเช็คสภาพของตัวรถ และให้คำตอบกับเราได้ว่า มันจะสามารถซ่อมและใช้งานได้ปกติหรือไม่ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความเข้าใจ เมื่อ รถจมน้ำ ควรตรวจเช็คอะไรบ้าง และ ไม่ควรทำอะไรบ้าง ไปดูกันเลยครับ !!!


สิ่งที่ต้องปฎิบัติเมื่อน้ำท่วมรถ

1.แจ้งประกันและตรวจสอบความเสียหาย ดูให้หมดทั้งภายในภายนอก เปิดฝากระโปรงเช็กเครื่องให้ครบครัน และควรรีบแจ้งเพื่อให้มีการนำส่งรถเข้าสู่การดูแลของช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเร็ว เพื่อลดโอกาสการเกิดความเสียหายต่างๆ

2.อย่ารีบร้อนติดเครื่องยนต์ เรามักย้ำเป็นประจำในข้อนี้เกี่ยวกับการดูแลรถหลังน้ำท่วม เนื่องจากการสตาร์ทเครื่องยนต์แบบสุ่มสี่สุ่มห้านั้นอาจทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายมากกว่าเดิม โดยเฉพาะเศษผงต่างที่มากับน้ำ สามารถสร้างความเสียหายต่อระบบเครื่องยนต์ได้ อีกประการคือรถที่แช่น้ำนานๆ จะมีความชื้นจะสามารถสร้างความเสียหาย ทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้เช่นกัน เพราะน้ำที่แทรกซึมอยู่ในเครื่องยนต์อาจจะทำให้กลไกภายในตัวเครื่อง เช่น ก้านสูบกับก้านกระทุ้งวาล์วได้รับความเสียหายหนักเข้าไปอีก

3.ห้ามพ่วงต่อกระแสไฟ เช่น พ่วงแบตเตอรี่ เพื่อติดเครื่องยนต์รถที่ใหม่กว่ารุ่นปี ค.ศ. 1989 หรือ พ.ศ. 2532 ซึ่งจะเปิดโอกาสให้แอลเทอร์เนอเตอร์ซึ่งมักจะเรียกกันง่ายๆ ว่าไดชาร์จ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่มีติดตั้งอยู่ เช่น กล่องสมองกลไฟฟ้าควบคุมเครื่องยนต์ (ECU) กล่องควบคุมเกียร์หรือระบบควบคุมการทรงตัว ระบบช่วยเสริมแรงเบรก หรือระบบป้องกันล้อล็อก รวมถึงอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบให้ความบันเทิงเสียหายจนใช้ไม่ได้ ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ ส่วนใหญ่แล้วมีราคาสูงมาก

4.ควรถอดแบตเตอรี่ เมื่อรู้ว่าไม่สามารถขนย้ายรถยนต์ส่วนตัวออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมได้ ควรถอดสายไฟที่เชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ออกทันที แล้วยกแบตเตอรี่ออกจากช่องเก็บ ถ้าทำไม่ทัน แบตเตอรี่จมน้ำอยู่อาจทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งจะตามมาด้วยความเสียหายในระดับที่ร้ายแรง เมื่อน้ำแห้งแล้ว วงจรของการเชื่อมต่อระหว่างสายไฟขั้วบวก-ลบ หากยังไม่เอาสายไฟที่เชื่อมต่อออก แล้วมีกระแสเข้าไปมันจะก่อให้เกิดการลัดวงจรแบบทันทีทันใด จึงควรรีบถอดสายแบตเตอรี่ออกทันทีที่สามารถกู้รถให้พ้นจากพื้นที่น้ำท่วมได้

5.ปลดฟิวส์ ก่อนที่จะต่อขั้วแบตเตอรี่เข้ากับรถอีกครั้งหลังจากพ้นน้ำแล้ว จำเป็นจะต้องปลดฟิวส์ในกล่องควบคุมของระบบถุงลมนิรภัยเพื่อตัดการทำงาน หากวงจรไฟฟ้าในระบบถุงลมนิรภัยเกิดลงดินหรือช็อตลัดวงจรโดยที่ยังไม่ได้ปลดฟิวส์ออก ถุงลมนิรภัยของใหม่ที่มีมูลค่าหลายหมื่นบาทในรถยนต์แทบทุกรุ่นหรือบางรุ่น ราคาเป็นแสน (ทั้งถุงลมนิรภัยคู่หน้า-หลัง ม่านนิรภัย) อาจระเบิดขึ้นเองได้จากการลัดวงจรของระบบ

6.เช็คระบบภายใน เมื่อทำการตรวจสอบรถยนต์ที่เพิ่งกู้ให้พ้นจากพื้นที่น้ำท่วมแล้ว หากพบน้ำในที่เขี่ยบุหรี่ แสดงว่าน้ำคงเข้าไปถึงระบบไฟฟ้าบนหน้าปัดหรือคอนโซล มาตรวัด จอมัลติฟังก์ชัน และสวิตช์สั่งงานควบคุมระบบต่างๆ วงจรของระบบเหล่านั้น สามารถนำออกมาทำความสะอาดและเป่าแห้งโดยช่างผู้ชำนาญ แต่มันอาจตามมาด้วยปัญหาของวงจรในการใช้งานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จมน้ำ หรือเปียกน้ำ อายุการใช้งานอาจสั้นลงมาก

7.ช่างทำการซ่อมและเช็คระบบ ถ้ารถแช่น้ำนาน ช่างซ่อมบำรุงระบบส่งกำลังลงมือ ไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดา เกียร์อัตโนมัติกับชุดทอร์กคอนเวอร์เตอร์ ต้องถอดออกมาเปลี่ยนถ่ายน้ำมันไฮดรอลิกและแยกชิ้นส่วนทั้งหมดออกมาทำความสะอาดทุกชิ้นส่วน รวมถึงน้ำมันเฟืองท้ายและชุดฟันเฟืองของเฟืองท้าย ชุดส่งกำลังทรานส์เฟอร์ของระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ เมื่อตรวจสอบระบบส่งกำลัง จะทำการตรวจเช็กลูกปืนล้อทั้งสี่ล้อ โดยนำออกมาทำความสะอาดแล้วอัดสารหล่อลื่นพวกจาระบีใหม่ทั้งหมด ยางหุ้มเพลาที่ขาด อาจมีน้ำเข้าไปแทนที่จาระบีภายใน ช่างจะต้องถอดออกมาทำความสะอาดเปลี่ยนยางหุ้มเพลาใหม่ และอัดจาระบีหลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้ว รวมถึงลูกปืนล้อทั้งสี่ก็ต้องถอดออกมาทำความสะอาดแล้วอัดจาระบีด้วยเช่นกัน ส่วนระบบระบายความร้อน เช่น หม้อน้ำ ช่างจะต้องถ่ายน้ำในหม้อน้ำทิ้งทั้งหมด แล้วเติมน้ำใหม่พร้อมน้ำยาลดอุณหภูมิน้ำตามระดับที่กำหนดในคู่มือประจำรถ พัดลมไฟฟ้าอาจได้รับความเสียหายเนื่องจากแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน มอเตอร์พัดลมข้อต่อสายไฟต่างๆ ถอดออกแล้วทำความสะอาดโดยการเป่าแห้งแล้วตากแดด หากโชคดีอาจทำงานได้เหมือนเดิม การรถที่จอดแช่น้ำแค่เพียงครึ่งล้อเป็นเวลานานๆก็จะสามารถทำให้ระบบเบรกเกิดความเสียหายได้เหมือนกัน บางรายถึงกับต้องซ่อมหรือเปลี่ยนเบรกกันทั้งระบบ ตรวจเช็กโดยการเปลี่ยนของเหลวพวกน้ำมันเบรก สายไฟเซนเซอร์ของระบบช่วยเบรก พวก ABS / BA ในรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีติดตั้ง ข้อต่อสายไฟที่เชื่อมต่อกับชุดควบคุม ก็จะต้องถอดออกแล้วทำความสะอาด เป่าขั้วต่อให้แห้งก่อนการเสียบกลับคืนเพื่อทดสอบว่ามันยังสามารถใช้งานได้หรือไม่ ส่วนแร็คพวงมาลัย โดยเฉพาะพวงมาลัยแบบพาวเวอร์ทั้งปั๊มไฟฟ้าและปั๊มสายพาน ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่จะต้องตรวจระบบรองรับพวกโช้คอัพ ลูกหมากปีกนก ยางรองรับห่อหุ้ม ช่างจะต้องเปลี่ยน ถ้าพบความเสียหายหรือไม่แน่ใจ กล่องฟิวส์ รีเลย์เซนเซอร์ จะต้องได้รับการตรวจเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรเสียหาย โดยเฉพาะกล่องฟิวส์ถ้าเกิดมีการจมน้ำเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนใหม่ทันที รวมถึงจานจ่าย เพราะหากใช้งานต่อไปมักทำให้เครื่องยนต์สั่น แผงวงจร ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำ หลังจากนั้นจึงนำไปอบที่ความร้อน 120F (120 องศาฟาเรนไฮต์) ประมาณ 30 นาที แล้วพ่นด้วยสเปรย์แล็กเกอร์เคลียร์ก่อนจะนำมาใช้ใหม่ ซึ่งมันอาจได้รับความเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป ก็อาจมีความเป็นไปได้ ส่วนระบบปรับอากาศ คลัตช์ของคอมเพรสเซอร์แอร์ อุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อความเสียหายมากที่สุดหลังจากแช่น้ำ คือ ชุดควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอลภายในห้องโดยสาร และที่สำคัญควรถอดพรมรองพื้นออกมาทำความสะอาดทั้งหมด แล้วผึ่งรถ โดยจอดตากแดดเปิดประตูทุกบานจนกว่าจะแน่ใจว่าภายในแห้ง และมีกลิ่นอับลดลง

8.การฉีดพ่นกันสนิม  เราอาจจะเสร็จเรื่องเครื่องและภายในห้องโดยสารกันไปเรียบร้อย แต่ก็ต้องไม่ลืมเรื่องของตัวถังด้วย โดยเฉพาะรถใครที่มีบาดแผลจากการชนก่อนน้ำท่วม อันนี้พึงระวังให้ดี เพราะสนิมนั้นจะถามหาอย่างไม่ต้องสงสัย หลังน้ำท่วมทางที่ดี แวะไปทำสีในจุดที่เกิดการชนก็ดีใช่น้อย เพราะจุดนั้นอาจจะเป็นสนิม ซึ่งสามารถทำให้เกิดการผุและเสียหายได้ในท้ายที่สุด ลองสอบถามกับช่างที่ซ่อมแซมรถให้เราได้ในเรื่องของการฉีดพ่นกันสนิทนะครับ


ประเมินความสูงของน้ำและตัวรถยนต์

3 ระดับวัดความสูงของน้ำกับตัวรถยนต์ของเรา คือการประเมินความสูงของน้ำกับตัวรถของเราก่อนว่ามันสูงถึงประมาณไหนของรถเรา วัดและกะด้วยสายตาของเราเองเลยครับ หากไม่สูงจนเกินไป ก็ต้องตรวจเช็คว่า มันโดนส่วนไหนของรถบ้าง และเกิดความเสียหายมากน้อยแค่ไหน ดังนี้

1. ระดับน้ำท่วมสูงถึงพื้นรถยนต์ แต่ไม่ถึงระดับของเบาะที่นั่ง

มีโอกาสสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์และชิ้นส่วนของรถยนต์ ดังนี้

  • ระบบเบรกทั้ง 4 ล้อ และผ้าเบรก
  • ห้องเครื่องยนต์ คลัทช์คอมแอร์ สายพานแอร์ และไดสตาร์ท
  • พรมภายในห้องโดยสาร

อุปกรณ์หลักที่ควรเช็ก และข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น

การที่ล้อและอุปกรณ์ช่วงล่างต่างๆ ถูกแช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดสนิมใต้ท้องรถได้ รวมถึงระบบเบรกของทั้ง 4 ล้อ และผ้าเบรกก็ควรตรวจเช็กให้เรียบร้อยครับ ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบไดสตาร์ทว่าได้รับความเสียหายมากน้อยแค่ไหนนะครับ ถึงแม้ว่าไดสตาร์ทถูกออกแบบมาให้มีความทนทาน แต่ไดสตาร์ทที่ได้รับความเสียหายจากน้ำเข้าสามารถก่อปัญหาแก่รถในระยะยาวได้ครับ หากพื้นพรมรถเปียกชื้นแสดงว่าน้ำมีการซึมเข้ามาภายในรถ ให้ถอดนำพรมไปซักและตากแดดให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันกลิ่นอับชื้นครับ และอย่าลืมล้างภายนอกรถให้สะอาดโดยเฉพาะใต้ท้องรถ และซุ้มล้อต่างๆ เพื่อล้างคราบโคลนสิ่งสกปรกต่างๆ ที่อาจติดอยู่ภายในครับ




2.ระดับน้ำท่วมสูงถึงเบาะที่นั่ง

มีโอกาสสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์และชิ้นส่วนของรถยนต์ ดังนี้

  • ห้องเครื่องยนต์ กล่อง ECU, แบตเตอร์รี่, พัดลมระบายความร้อน, เครื่องยนต์, น้ำมันเครื่อง, ระบบเกียร์, น้ำมันเกียร์, ขั้วสายไฟต่างๆ, พวงมาลัยไฟฟ้า EPS
  • ไฟหน้า และไฟท้าย
  • เบาะนั่ง
  • แผงนวมประตู สวิตช์แผงประตู และระบบเซ็นทรัลล็อก
  • ชุดตู้แอร์
  • ห้องสัมภาระท้าย

ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น เมื่อรถโดนน้ำท่วม

ในกรณีที่น้ำท่วมสูงถึงเบาะนั่งนั้น เมื่อนำรถขึ้นจากน้ำแล้ว ห้ามสตาร์ทรถหรือบิดกุญแจไปที่ ON โดยเด็ดขาด เพราะระดับความสูงของน้ำจะสร้างความเสียหายภายในห้องเครื่องยนต์ จึงควรถอดแบตเตอร์รี่ออกในทันที และตรวจสอบอุปกรณ์อื่นๆ เช่นพัดลมระบายความร้อน ซึ่งสำคัญมากสำหรับการถ่ายเทความร้อนของห้องเครื่อง หรือกล่อง ECU ที่เป็นสมองกลไฟฟ้าควบคุมเครื่องยนต์  ที่สำคัญไม่แพ้กันคือระบบเกียร์ ระบบของเหลว ระบบหล่อลื่นต่างๆของรถ และควรทำการไล่ความชื้นออกจากตัวรถ




3.ระดับน้ำท่วมสูงถึงคอนโซลหน้า หรือมิดหลังคา คือระดับที่สร้างความเสียหายสูงที่สุด

ซึ่งมีโอกาสสร้างความเสียหายให้กับอุปกรณ์และชิ้นส่วนของรถยนต์ ดังนี้

  • ตัวถังสีภายนอก
  • ไฟหน้า และไฟท้าย
  • ห้องเครื่องยนต์ ที่กรองอากาศ, ไดชาร์จ, ชุดหัวเทียน, มอเตอร์ปัดน้ำฝน, แผงคอนเดนเซอร์แอร์, หม้อน้ำ
  • ของเหลวต่างๆ ที่สำคัญในอุปกรณ์ที่น้ำท่วมถึงเช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรก น้ำมันพวงมาลัย และน้ำมันเชื้อเพลิงในถัง
  • อุปกรณ์ต่างๆ ภายในห้องโดยสาร เช่น ชุดควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล, วิทยุ, คอนโซลหน้า, ระบบถุงลม, ระบบไฟส่องสว่างต่างๆ, ผ้าหลังคา, ม่านถุงลม, ซันรูฟ, ช่องแอร์
  • มอเตอร์พัดลมแอร์
  • หน้าปัทม์เรือนไมล์
  • ขอบยางประตู

ข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น

ระดับที่ 3 เป็นระดับที่สร้างความเสียหายอย่างมาก เมื่อนำรถขึ้นจากน้ำแล้วห้ามสตาร์ทรถ หรือบิดกุญแจไปที่ ON โดยเด็ดขาดเช่นเดียวกับระดับที่ 2 ครับ เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายอย่างมากและระบบไฟฟ้าลัดวงจรได้ ควรรีบถอดแบตเตอร์รี่ออกในทันที หากพบว่ามีน้ำเข้าควรเปลี่ยนแบตเตอร์รี่ จากนั้นรีบนำรถส่งช่างผู้เชี่ยวชาญให้ตรวจเช็กของเหลวทุกอย่างภายในรถ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรก น้ำหล่อเย็น หรือสารหล่อลื่นอย่างจาระบีเช่นกัน อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่แผงหน้าปัทม์และคอนโซลต้องถอดออกมาทำความสะอาดและเป่าให้แห้งทั้งหมด ทั้งนี้ช่างผู้เชี่ยวชาญสามารถดำเนินการให้ได้ครับ รถจมน้ำส่วนใหญ่ หลังจากแก้ไขปัญหาจากที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด อาจไม่สามารถกลับมาทำงานปกติเหมือนเดิมได้




เหตุการ์ณน้ำท่วมนั้นส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายหนีน้ำได้ทันอย่างแน่นอน 1 ในนั้นก็คงหนีไม่พ้นในเรื่องของรถจมน้ำ เพราะเป็นสิ่งที่แย่ที่สุดลองลงมาจากทรัพย์สินอื่นๆ เพราะนอกจากบ้านที่จะต้องเสียเงินซ่อมแซมแล้ว ยังต้องมานั่งเสียเงินกับการซ่อมรถอีก หรือบางคันถึงขนาดต้องขายทิ้งแล้วซื้อใหม่กันเลย เชื่อว่าไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน และยิ่งสภาพวะเศรษฐกิจแบบนี้ใช่ว่าเราจะสามารถใช้เงินกันได้อย่างสบายอกสบายใจ ดังนั้นตัวช่วยที่ดีที่สุดของเราในยามที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับรถ ก็คงปฎิเสธไม่ได้ว่า เป็นในเรื่องของประกันรถยนต์ที่ได้ทำไป ตัวประกันรถยนต์จะเห็นได้ว่า มีหลายๆบริษัทที่ครอบคลุมในเรื่องของภัยพิบัติตามธรรมชาติกันแล้ว ส่วนข้อกำหนดหรือข้อบังคับตามกฏนั้นมีอะไรบ้าง ใครที่สนใจสามารถสอบถามเข้ามาได้เลยนะครับ เรายินดีให้คำแนะนำและดูแลทุกท่านอย่างดีที่สุด



ด้วยความปรารถนาดีจาก เพจ ประกันรถถูกๆ ต่อง่ายๆ คุ้มครองเลย

สาระน่ารู้เรื่อง ประกันรถยนต์ที่ จริงจัง จริงใจ จริงจริง ♥

สนใจซื้อประกันรถยนต์ คลิ๊ก

Scroll to Top