fbpx

jjjinsur.com ประกันรถถูกๆ ต่อง่ายๆ คุ้มครองเลย

ระบบเบรก ที่ควรระวัง

ระบบเบรก ที่ควรระวัง

ระบบเบรก ที่ควรระวัง ระบบเบรกของรถยนต์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญลำดับแรกๆของตัวรถทุกรุ่นทุกคัน เพราะบ่งบอกถึงความปลอดภัยในการเดินทาง รวมถึงความพร้อมในการเดินทางบนท้องถนน และถือว่าเป็นชิ้นส่วนที่มีการทำงานอย่างมากและอย่างต่อเนื่องในการขับขี่แต่ละครั้ง โดยเฉพาะเมื่อเจอสภาวะจราจรติดขัด ถ้าระบบเบรกมีปัญหา แน่นอนอยู่แล้วว่ามักจะตามมาด้วยอุบัติเหตุและสร้างความเสียหายที่เราคาดถึงเลยล่ะครับ วันนี้เราจะพาทุกท่านไปสังเกตสิ่งที่มักจะเกิดปัญหาบ่อยๆกับระบบเบรกของรถเราให้ชำนาญและสามารถรับมือกับมันได้ ไปดูกันเลยครับ


อาการของระบบเบรกที่เริ่มมีปัญหา

1.ไม่ได้ดึงเบรกมือ แต่มีไฟเตือนขึ้น โดยปกติเมื่อดึงเบรกมือ หรือปลดเบรกมือลงไม่สุด จะมีสัญญาณไฟเตือนขึ้นบนหน้าปัด แต่ถ้าหากไฟเตือนแสดงขึ้นมาโดยที่ไม่มีการดึงเบรกมือ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้ว่า ระบบเบรก หรือ น้ำมันเบรกเริ่มมีปัญหา ลองสังเกตจากการเหยียบเบรก ว่ามีอาการผิดปกติอื่นๆเพิ่มเติมหรือไม่ เพราะอาจเกิดจากผ้าเบรกสึกหรอก็ได้ครับ

2.ขณะเบรกมีเสียงดัง หากเหยียบเบรกแล้วมีเสียงดัง เหมือนโลหะเสียดสีกัน และเมื่อปล่อยเบรกเสียงเงียบลง นั่นอาจเป็นเพราะ จานเบรกเสื่อมสภาพ หรือ ผ้าเบรกหมด จนทำให้เกิดการเสียดสีกับจานเบรก แต่หากได้ยินเป็นเสียงบด อาจเป็นเพราะมีเศษฝุ่น หรือ เศษทราย เข้าไประหว่างผ้าเบรกกับจานเบรก หรือในชุดคาลิปเปอร์ก็ได้เช่นกันครับ

3.อาการเบรกสั่น อาการเบรกสั่น จะรู้สึกได้เมื่อเหยียบเบรก บางครั้งอาจสั่นแรงจนรู้สึกสั่นที่พวงมาลัย หรือเหยียบเบรกแล้วรถสั่นไปทั้งคัน นั่นอาจมีสาเหตุมาจากจานเบรกคด บิดตัว โก่ง หรือเอียง ซึ่งมาจากการเหยียบเบรกอย่างรุนแรงเป็นประจำ หรือขับรถลุยน้ำ ทำให้จานเบรกที่มีความร้อนสูงสัมผัสกับน้ำจึงเกิดการบิดตัวได้ง่าย ทำให้ผ้าเบรกไม่สัมผัสกับจานเบรกได้เต็มที่ แนะนำให้เปลี่ยนจานเบรก หรือเจียรจานเบรกให้เสมอเท่ากัน

4.เบรกแล้วรถปัด ในกรณีที่เหยียบเบรกแล้วรถปัดไปด้านใดด้านหนึ่งนั้น เกิดมาจากสาเหตุหลายอย่าง เช่น ยางรถยนต์ ระบบเบรกหรือคาลิปเปอร์สึกหรอ ทำให้แรงเบรกของแต่ละล้อไม่เท่ากัน รถจึงเสียสมดุลได้ หรืออาจมีคราบน้ำมันหรือสารหล่อลื่นจากช่วงล่าง กระเด็นมาที่จานเบรก ทำให้เบรกลื่น ซึ่งหากรถปัดไปทางด้านใด แสดงว่าระบบเบรกของด้านตรงข้ามมีปัญหา เช่น รถปัดไปทางซ้าย ให้เช็กระบบเบรกที่อยู่ทางด้านขวา

5.เบรกตื้อ  เป็นอาการที่เวลาเหยียบเบรก แล้วรู้สึกว่า เบรกมันไม่ค่อยอยู่ เบรกแข็งๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรกมากๆ อาการเบรกตื้อ เกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดูดสุญญากาศของหม้อลมน้อย เพราะปั้มตูดไดชาร์จเสีย หรือผ้าในหม้อลมรั่ว วาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย สายลมรั่ว

6.เบรกต่ำ เวลาเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่า แป้นเบรกจมลงต่ำกว่าปรกติ เหยียบค้างไว้เบรกค่อยๆจมลงๆ เป็นอาการของเบรกต่ำ ส่วนมากเกิดมาจาก ลูกยางแม่ปั้มเบรกบน มีอาการสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรกลดลง ต้องออกแรงเบรกมากขึ้น หรือต้องเหยียบเบรกซ้ำๆกัน หลายๆครั้ง

7.เบรกติด อาการเหมือนรถมีอาการเบรกทำงานอยู่ตลอดเวลา รถจะตื้อ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ เบรกปัดซ้าย-ขวา รถวิ่งไม่ออก จอดแล้วเข็นรถไม่ได้ เป็นอาการของเบรกติด ส่วนมากเกิดจาก การลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั้มเบรกเสีย ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรก จนเกิดสนิมติดขัด ลูกสูบเบรกไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้าออกได้
การแก้ไข เปลี่ยนชุดซ่อมแม่ปั้มเบรกล่าง ถอดมาขัดสนิมออก ทั้งแม่ปั้ม และกระบอกเบรก หรือถ้ามีสนิมมากจนเกิดตามด จะทำให้น้ำมันเบรกรั่วซึมได้ ต้องเปลี่ยนลูกสูบเบรก หรือแม่ปั้มทั้งชุด

8.อาการเบรกแตก อาการเบรกแตก หรือเบรกไม่อยู่ คือการที่เหยียบแป้นเบรกจนสุดแล้วแต่รถยังไม่หยุดเคลื่อนที่ นั่นอาจเป็นเพราะน้ำมันเบรกรั่ว ท่อทางระบบเบรกแตก สายอ่อนเบรกแตก ลูกยางแม่ปั๊มเบรกหรือตัวแม่ปั๊มเบรกเสียหายจนน้ำมันเบรกรั่วไหลจนหมด หรือชิ้นส่วนระบบเบรกหลุดหลวม ซึ่งหากรถเบรกแตก พยายามบังคับรถอยู่ในเลนที่ปลอดภัย ชะลอความเร็ว ค่อยๆดึงเบรกมือขึ้นเป็นจังหวะ เพื่อช่วยลดความเร็ว (ห้ามดึงเบรกมือแรงเด็ดขาด เพราะจะทำให้รถหมุนและพลิกคว่ำได้)

9.เบรกมีกลิ่นไหม้ หากเบรกมีกลิ่นเหม็นไหม้ นั่นอาจเกิดจากการเหยียบเบรกรุนแรงหลายๆครั้งอย่างต่อเนื่อง หรือเมื่อขับรถขึ้นเขา-ลงเขาแล้วต้องเหยียบเบรกบ่อยๆ ก็ทำให้เบรกเกิดความร้อนจัดจนผ้าเบรกไหม้ หรือการเหยียบเบรกแช่นานเกินไปก็มีผลเช่นกัน จนทำให้เบรกติดหรือเบรกค้าง ซึ่งหากมีควันออกมาจากล้อด้วย ก็อาจเป็นเพราะคาลิปเปอร์เบรกค้างอยู่ ทำให้ผ้าเบรกจับจานเบรกค้างนานเกินไปจนผ้าเบรกกไหม้ หากเริ่มได้กลิ่นเบรกไหม้ ควรจอดเพื่อพักรถ จนกว่าเบรกจะเย็นลง หรือหากอยู่ในช่วงขึ้นเขาลงเขา แนะนำใช้เกียร์ต่ำเพื่อช่วยชะลอความเร็วหรือใช้ Engine Break จะดีกว่าการใช้เกียร์ปกติแล้วเหยียบเบรกบ่อยๆ

10.เบรกหมด คืออาการ เบรกแล้วเกิดเสียงดัง เหมือนเหล็กสีกับเหล็ก เบรกลื่นๆเป็นอาการของเวลาที่ผ้าเบรกหมด ผ้าเบรกบางรุ่นจะมีส่วนที่เป็นตุ่มโลหะมาแตะกับจานเบรกเพื่อให้เกิดเสียงดัง เป็นอาการส่งสัญญาณเตือน หรือติดตั้ง สวิทซ์ไฟโชว์ไว้ที่แผงหน้าปัด ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที เพราะจะทำให้ผ้าเบรกสีกับจนเบรกเสียหาย จนต้อเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เสียเงินเพิ่มอีก


การดูแลรักษาระบบเบรก และข้อควรระวัง

1.การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก 

แม้ว่าจะไม่มีการรั่วหรือลดระดับลงอย่างใดก็ตาม น้ำมันเบรกควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะน้ำมันเบรกมีส่วนประกอบมาจากน้ำมันแร่ จึงมีการรวมตัวกับไอน้ำได้ง่าย ทำให้ระบบเบรกเกิดสนิม ความร้อนที่สูงเกินไปทำให้เกิดฟองอากาศในท่อน้ำมัน ฝุ่นผงที่สึกหรอของลูกยางเบรกจะเสียดสีกับแม่ปั้มเบรก ทำให้กระบอกเบรกเสียหายเร็วขึ้น น้ำมันเบรกต้องเลือกใช้ให้ตรงกับมารตราฐานที่ผู้ผลิตกำหนด เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรก DOT อื่นผสม หรือนำน้ำมันอื่นๆเติมแทน เพราะจะทำให้ลูกยางเบรกบวมได้ การเช็คระยะห่างผ้าเบรก ในระบบดรั้มเบรก ระยะห่างระหว่างผ้า และจานเบรกที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรกจะต่ำลง และการดึงเบรกมือที่สูงขึ้น ระดับน้ำมันเบรกลดต่ำลง ควรต้องทำการถอดจานเบรกมาทำความสะอาด เป่าฝุ่นทิ้ง และตั้งระยะผ้าเบรกให้ชิดขึ้น การตั้งจะใช้ไขควงเขี่ยเฟืองตั้งให้หมุนตามฟันตั้ง ด้านหลังจานเบรก ใส่ล้อไขให้แน่นแล้วหมุนสังเกตถ้าล้อเริ่มหมุนฝืดขึ้น ถือว่าใช้ได้ ทำทั้ง 2 ล้อ หรือสังเกตจากเสียงแกรกๆ เวลาดึงเบรกมือควรจะอยู่ที่ 5 – 7 แกรก

2.การตรวจสอบผ้าเบรก

ผ้าเบรกเป็นส่วนที่สึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น เพราะมีการเสียสีทั้งจานเบรก และฝุ่นต่างๆ ควรถอดเช็คเป็นประจำ สังเกตเปรียบเทียบกับผ้าเบรกของใหม่แกะกล่อง จะมีความหนาเป็น 100 % ผ้าเบรกที่ใช้แล้วความหนาจะลดลงเรื่อยๆ ในจุดที่ต่ำกว่า 40 – 30 % นั้นถือว่าไม่ปลอดภัย เพราะผ้าเบรกในช่วงที่เหลือน้อย การสึกหรอจะรวดเร็วกว่าหลายเท่าตัว จนถึงระดับบางมาก เนื้อผ้าเบรกอาจหลุดร่อนได้อย่างกะทันหัน เป็นผลให้แผ่นเหล็กสีกับจานเบรกจนเสียหาย เสียเงินเพิ่ม หรือถ้าผ้าเบรกหลุดออกจากฝักเบรก ลูกสูบปั้มเบรก และน้ำมันเบรกจะหลุดออก ที่เรียกกันว่าเบรกแตกนั้นเองการเปลี่ยนจานเบรก และการเจียรจานเบรก การใช้ผ้าเบรกที่มีโลหะผสมอยู่มาก ฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรกหมด จะทำให้จานเบรกเป็นรอย การขับรถลุยน้ำขณะที่จานเบรกร้อน จะทำให้จานเบรกคด หรือบิดตัว ต้องทำการเจียรจาน ด้วยเครื่องมือเจียรจานเบรก ทำได้ 2 วิธี การถอดจานเบรกมาเจียรด้วยเครื่องเจียรจาน แบบนี้ต้องใช้ค่าแรงสูงและอาจต้องมีการเปลี่ยนจารบีลูกปืนล้อใหม่ เสี่ยงต่อเศษฝุ่นผงเหล็กปะปนกับการประกอบจานเบรกคืน การใช้เครื่องเจียรจานแบบประชิดล้อ แบบนี้ไม่ต้องเสียเวลาถอดจานเบรก และลูกปืนล้อ แต่ความเที่ยงตรงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดุมล้อ และลูกปืนล้อ ว่าหลวมหรือคดหรือไม่ การเจียรจะทำให้จานเบรกบางลง จานเบรกที่บางจะทำให้เกิดการแตกร้าว และคดได้ง่าย ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่ถือเป็นการดีที่สุดการทำความสะอาดจานเบรก ถ้ามีจารบี หรือสิ่งแปดเปื้อน ติดอยู่ที่จานเบรก ควรใช้น้ำยาล้างจานเบรกโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้น้ำมันอื่นๆมาทำความสะอาด หรือถ้าไมมีจริงๆ ควรใช้ทินเนอร์ 100% หรือ แอลกอลฮอลบริสุทธิเท่านั้นการตรวจสอบสายอ่อนเบรก ควรตรวจสอบเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่ามีอาการบวม บิดคดเสียรูป ปลอกหุ้มภายนอกฉีกขาด หรือมีการเสียดสี ควรรีบเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะเกิดการแตกได้ง่ายๆ

3.การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรก

เบรกที่ได้รับการใช้งานอยู่เป็นประจำ ควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อม จำพวกลูกยางแม่ปั้มเบรก ลูกยางลูกสูบเบรก และยางกันฝุ่น อย่างน้อย 2 – 4 ปีครั้ง หรือถ้ามีมีการลุยน้ำ ต้องรีบตรวจเช็คทันที เพระลูกยางกันฝุ่นที่เก่าหมดสภาพ จะไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้ น้ำที่ซึมผ่านเข้าไปในกระบอกเบรก และแม่ปั้มเบรก จะทำลายลูกสูบเบรกให้เกิดสนิม เป็นตามด ในกระบอกเบรก ทำให้เกิดอาการเบรกติด หรือน้ำมันเบรกรั่วซึม


เชื่อว่าทุกคนคงเข้าใจกันดีแล้วว่า ระบบเบรก ที่ควรระวัง มีอะไรบ้าง เพราะเบรกคือส่วนสำคัญในการควบคุมรถ ลองนึกดูสิว่าถ้ากำลังขับรถอยู่แต่เบรกไม่ทำงานหรือทำงานไม่เต็มที่จะเกิดอะไรขึ้น ไม่ชนก็ลงข้างทาง หากอาการของเบรกมีปัญหาไม่ว่าระบบเบรกจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นก็ตาม คุณควรจะรีบนำรถไปแก้ไข ไปเข้าศูนย์บริการ หรือ อู่ซ่อมโดยด่วน เพื่อจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะความปลอดภัย ควรจะคำนึกเป็นอย่างแรก



ด้วยความปรารถนาดีจาก เพจ ประกันรถถูกๆ ต่อง่ายๆ คุ้มครองเลย

สาระน่ารู้เรื่อง ประกันรถยนต์ที่ จริงจัง จริงใจ จริงจริง ♥

สนใจซื้อประกันรถยนต์ คลิ๊ก

Scroll to Top