เคยสงสัยไหมครับ มีรถแล้ว ต่อพ.ร.บ. ทำไม แล้วพ.ร.บ. คุ้มครองอะไร
จะอธิบายให้ฟังครับ ไม่ว่ารถเล็กรถใหญ่ก็ต้องต่อพ.ร.บ. ทั้งหมด !!
= พ.ร.บ. รถยนต์ คือประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Third Party Insurance) ที่มีขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถปี 2535 พ.ร.บ. มีขึ้นเพื่อคุ้มครองเบื้องต้นถ้าเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ประสบอุบัติเหตุจะได้รับการรักษาพยาบาลในทันที พ.ร.บ. รถจะออกค่าใช้จ่ายในการนำคนเจ็บส่งโรงพยาบาลรวมถึงจ่ายค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้น ? โดยเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถค่ารักษาพยาบาลจะเบิกจาก พ.ร.บ. เป็นอันดับแรก แล้วค่อยเบิกสิทธิ์อื่นๆ เพราะแบบนี้เองกฎหมายจราจรไทยจึงบังคับให้รถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. ก่อนจึงจะต่อภาษีรถยนต์ประจำปีได้ และพ.ร.บ.ก็คุ้มครองทั้งตัวเราเองและตัวคนอื่นอีกด้วย แบบนี้แหละจึงเป็นเหตุให้คนมีรถต้องทำกัน
*แล้วถ้าไม่ทำล่ะ … ? รถที่ไม่มีพ.ร.บ. เมื่อถูกตรวจจะถูกลงโทษตามกฎหมาย เสียค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาท รถยนต์ที่ไม่มี พ.ร.บ. จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และจะไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. เมื่อเกิดอุบัติเหตุ รถยนต์ที่ไม่ได้เสียภาษีรถยนต์ตามเวลาที่กำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับ เดือนละ 1% พร้อมกับชำระภาษีย้อนหลังอีกด้วยนะ เพราะถ้างั้นแล้ว ต่อเถอะครับ เงินหลักร้อย แต่มีอะไรมา จ่ายหลักหมื่นหลักแสนทีนี้ความคุ้มครองของพ.ร.บ.เบื้องต้นเลย ถ้าชนกันมา ยังไม่รู้ว่าใครผิดหรือถูกพ.ร.บ.ก็สามารถให้ความคุ้มครองได้เลยโดยค่ารักษาพยาบาลคนละ 30,000 บาทในกรณีบาดเจ็บ และคนละ 35,000 บาทในกรณีสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์
ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บแล้วสูญเสียอวัยวะตามมา จะได้รับคนละไม่เกิน 65,000 บาท
ในกรณีที่เสียชีวิต จะได้รบเงินค่าทำศพคนละ 35,000 บาท
แต่ถ้ารักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ พ.ร.บ. จะจ่ายค่าชดเชยคนละไม่เกิน 65,000 บาท (จ่ายตามจริง)
*แต่ถ้าเป็นฝ่ายถูกขึ้นมา
ค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มขึ้นมาเป็น ไม่เกิน 80,000 บาท
เงินชดเชยในกรณีสูยเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์ 200,000-300,000 บาท
เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท
ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน วันนละ 200 บาทไม่เกิน 20 วันรวม 4,000 บาท
ราคา ค่าพ.ร.บ. ที่เราเสียๆกันประจำก็คือ รถเก๋ง 645.21บาท
รถกระบะ 967.28 บาท
และภาษี เราก็ต้องเสียต่างหากไปอีกนะครับ หลังต่อพ.ร.บ.แล้ว
จะเห็นได้ว่า จะมีเส้นปะให้ฉีกด้านล่าง นั่นแหละครับ การเสียภาษีครับ
แต่ปัจจุบัน ตั้งแต่ 1 เมษายนที่ผ่านมา พ.ร.บ. ภาคบังคับ ได้ปรับเพิ่มความคุ้มครองเพิ่มมาแล้ว มีอะไรปรับบ้าง เปรียบเทียบได้เลย ….. พ.ร.บ. 2563
คงจะหายส่งสัยกันแล้วนะครับ ว่า ต่อพ.ร.บ. ทำไม แล้วพ.ร.บ. คุ้มครองอะไร เพราะไม่อย่างงั้นแล้ว ถ้าไม่ต่อพ.ร.บ. ก็จะต่อภาษี ไม่ได้
— และที่สำคัญ พ.ร.บ. กับภาษี คือคนละอย่างกันนะครับ —
ด้วยความปรารถนาดีจาก เพจ ประกันรถถูกๆ ต่อง่ายๆ คุ้มครองเลย
สาระน่ารู้เรื่อง ประกันรถยนต์ที่ จริงจัง จริงใจ จริงจริง ♥
สนใจซื้อประกันรถยนต์ คลิ๊ก