พ่วงแบตเตอรี่รถ อย่างไรให้ปลอดภัย มีใครเคยประสบเหตุจำเป็น ต้องจั๊มแบตกับรถคันอื่นหรือไม่ และเชื่อเถอะน้อยมากที่จะทำเป็น หรือ สามารถทำได้ ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถเข้าใจจริงๆว่า การจั๊มแบตรถยนต์ด้วยกันเอง มันไม่ง่ายขนาดนั้น แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินไป เพราะต้องดูว่า แบตรถคันที่จะจั๊มด้วยแอมแปร์เท่ากันไหม หรือ ความจุเท่าไหร่ อย่าสุ่มสี่สุ่มห้าทำกันเด้อ ศึกษาการทำกันด้วย หากหวังดีอย่างช่วยเหลือเค้า แต่รถเราน๊อคเอง อันนี้ก็ไม่ไหวนะ ดังนั้น เราจะนำเทคนิคมาบอกกัน ถึงวิธีการ พ่วงแบตเตอรี่รถ อย่างไรให้ปลอดภัย กันนะ
1. ใช้แบตเตอรี่รถยนต์ที่ได้มาตรฐาน มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และผ่านการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัย
2. เลือกแบตเตอรี่ที่มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งานของรถแต่ละรุ่น โดยมีขนาดแอมแปร์เท่ากับหรือมากกว่าที่ติดมากับรถยนต์
3. มีความจุไฟฟ้าเหมาะสมกับปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้าของรถ หากมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม อาทิ เครื่องเสียง ให้ใช้แบตเตอรี่ที่มีขนาดแอมแปร์สูง
ขึ้น
การพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์
1.ปิดสวิตช์และอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมดของรถ
2. นำรถคันที่มีแบตเตอรี่ปกติมาจอดใกล้ ๆ เพื่อต่อสายพ่วงแบตเตอรี่
3. นำสายพ่วงแบตเตอรี่ขั้วบวก (สีแดง) ต่อกับแบตเตอรี่ขั้วบวกของรถคันที่แบตเตอรี่หมด
ก่อน แล้วมาต่อกับรถที่มาช่วย
4. นำสายพ่วงแบตเตอรี่ขั้วลบ (สีดำ) ต่อกับแบตเตอรี่ขั้วลบของรถคันที่มาช่วย อีกฟากให้หนีบที่โลหะในเครื่องยนต์ เป็นการสร้างระบบกราวนด์ของแบตเตอรี่
5. สตาร์ทเครื่องยนต์รถคันที่มีแบตเตอรี่ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วเร่งเครื่องยนต์เล็กน้อย เพื่อให้แบตเตอรี่มีการไหลเวียนของประจุไฟฟ้า
6.สตาร์ทเครื่องยนต์รถคันที่แบตเตอรี่หมด พร้อมเร่งเครื่องในอัตรา 1,500–2,000 รอบต่อนาที เพื่อตรวจสอบว่ามีประจุไฟฟ้าเข้าหลังจากการชาร์จไฟแบตเตอรี่หรือไม่
7.ถอดสายพ่วงรถคันที่แบตเตอรี่หมดและถอดสายพ่วงรถคันที่มีแบตเตอรี่ปกติออก
8. นำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่
ข้อควรระวังในการพ่วงแบตเตอรี่รถยนต์
1. ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์และเปิดระบบไฟของรถทั้งสองคัน เพราะจะทำให้เกิดประกายไฟ ส่งผลให้เกิดการระเบิดได้
2.ไม่ต่อสายพ่วงเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่ของรถคันที่แบตเตอรี่หมด เพื่อป้องกันแบตเตอรี่ระเบิด
3. ห้ามสูบบุหรี่ จุดไฟแช็ก หรือก่อให้เกิดประกายไฟ เพราะในขณะต่อสายพ่วงแบตเตอรี่จะมีแก๊สบริเวณดังกล่าว ทำให้เกิดการระเบิดได้
4. สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและถุงมือทุกครั้งที่สัมผัสแบตเตอรี่ เพราะน้ำกรดในแบตเตอรี่เป็นสารกัดกร่อน ทำให้ได้รับอันตรายได้
5. ระมัดระวังไม่ให้แบตเตอรี่เอียงหรือตะแคง เพราะน้ำกรดอาจรั่วไหลออกมาทางรูระบาย ก่อให้เกิดอันตรายได้
6. ระมัดระวังไม่ให้ปลายสายพ่วงแบตเตอรี่สัมผัสกัน เพราะจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้
ด้วยความปรารถนาดีจาก เพจ ประกันรถถูกๆ ต่อง่ายๆ คุ้มครองเลย
สาระน่ารู้เรื่อง ประกันรถยนต์ที่ จริงจัง จริงใจ จริงจริง ♥
สนใจซื้อประกันรถยนต์ คลิ๊ก