jjjinsur.com ประกันรถถูกๆ ต่อง่าย คุ้มครองเลย

เจเจเจอินชัวร์ (JJJ insur)

JJJInsur.com

ต่อภาษีรถยนต์กับตรอ.

ต่อภาษีรถยนต์กับตรอ.

ต่อภาษีรถยนต์กับตรอ. การต่อภาษีรถยนต์ ใช่ว่าเราต้องไปทำหรือไปต่อที่กรมขนส่งเพียงอย่างเดียว รู้หรือไม่ว่า…สามารถไปต่อที่ตรอ. ได้ด้วยเช่นกัน และถูกต้องตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบกด้วย การดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายรถยนต์ ระบุไว้ว่า ” รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว ต้องเสียภาษีรถประจำปี เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี ” หรือ พูดกันให้เข้าใจง่ายๆคือ รถยนต์ที่เราใช้ขับกันบนท้องถนน มีอายุทะเบียนเพียง 1 ปี เมื่อครบกำหนด ต้องทำการต่อทะเบียนภาษีทันที ไม่เช่นนั่นหากคุณตำรวจเค้าเรียกตรวจขึ้นมา ต้องมีปัญหาแน่ๆงานนี้ และรู้หรือไม่เมื่อถึงกำหนดที่จะต้องไปชำระภาษีรถยนต์ประจำปีนั้น จะต้องเตรียมตัวอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง มีขั้นตอนยังไง อีกทั้งมีกี่วิธีที่จะสามารถทำได้ หรือการ ต่อภาษีรถยนต์กับตรอ ต้องทำอย่างไรบ้าง ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ในการ ต่อภาษีรถยนต์กับตรอ. มาไว้ให้คุณที่นี้แล้วเช่นกัน


ตรอ คืออะไร..?

ตรอ. ย่อมาจาก “สถานตรวจสภาพรถเอกชน” = เป็นหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก ให้เป็นสถานที่ตรวจสภาพรถยนต์​เพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของรถ ว่ามีความพร้อมใช้งานไหม และเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ โดยจะได้เอกสารเพื่อนำไปยื่นต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ซึ่งการตรวจสภาพรถยนต์กับตรอ เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติของกรมการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 และตามพระราชบัญญัติรถยนต์​ พ.ศ.2522 มีข้อกำหนดว่า รถที่จะนำมาใช้ในการขนส่ง หรือ นำจดทะเบียน ต้องมีสภาพมั่นคง แข็งแรง มีลักษณะ และเครื่องอุปกรณ์ส่วนควบของรถ ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ

สำหรับรถยนต์ที่จะไปต่อภาษีประจำปีได้นั้น จำเป็นต้องมี พรบ.รถยนต์ก่อน!!!เสมอ และในยุคสมัยนี้มีหลากหลายช่องทางในการดำเนินการอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็น บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ทั่วประเทศ , ตัวแทนประกันภัย , เคาน์เตอร์เซอร์วิส 7-11 หรือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทุกสาขา , สำนักงานขนส่งทั่วไทย โดยมีการยึดความสะดวกและรวดเร็วให้มากขึ้นในช่วงโควิค ดังนั้นเมื่อเรามีพรบ.อยู่ในมือแล้ว ต้องการแค่ภาษีรถยนต์ ก็ต้องมาดูกันอีกว่า รถเราจัดอยู่ในหมวดหมู่รถที่มีอายุเกินหรือเปล่า เพราะการต่อภาษีก็ทำให้สะดวกง่ายมากยิ่งขึ้นได้ เพียงรถของท่านมีอายุไม่เกิน 7 ปี ก็จะสามารถต่อภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ได้อีกด้วย


*** ถ้าเป็นรถใหม่ที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี ***

สามารถทำเองได้ในช่องทางออนไลน์ที่เว๊ปไซต์กรมขนส่งทางบกได้เลย หรือ กรณีที่เราต่อประกันรถยนต์พรบ. สามารถติดต่อหรือฝากให้นายหน้าตัวแทนที่ทำประกันให้เรา ทำด้วยเลยทั้งหมดก็ได้


*** หากรถมีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป ***

จำเป็นจะต้องทำการตรวจสภาพรถก่อน ที่ – กรมขนส่งทางบกที่เราอยู่ใกล้หรือสะดวกทุกแห่ง
นอกเหนือจากที่กรมขนส่งทางบกแล้ว ลองดูตามข้างทางที่เราขับขี่อยู่บนท้องถนน หากมีตรา หรือสัญญาลักษณ์คำว่า (ตรอ.) ก็สามารถเข้าไปตรวจสภาพรถพร้อมต่อภาษีประจำปีได้เช่นกัน

เพราะที่ ตรอ.ถือว่าได้การรับรองจากกรมการขนส่งทางบก เสมือนเป็นจุดหรือสถานที่ ที่ช่วยทางกรมขนส่งแบ่งเบาหรือรองรับการต่อภาษีรถยนต์ในแต่ละคันของประเทศทั้งหมดไว้นั้นเอง

*ทั้งนี้* การต่อภาษีหรือตรวจสภาพรถ ที่ ตรอ. ! อาจมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมตามการคิดค่าบริการของตรอ.แต่ละพื้นที่

จะไปต่อภาษี ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง…?

  • สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนาก็ได้ (หรือที่เรียกกันว่า สำเนารถ )
  • เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ ( กฎหมายกำหนดให้ต้องทำพรบ.รถยนต์ก่อนต่อภาษีทุกครั้ง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ในตรอ.มักจะให้ซื้อพรบ.ควบคู่กับการต่อภาษีไปเลย )
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ
  • รถที่ติดตั้งแก๊สต้องมีหนังสือรับรองการตรวจสอบและทดสอบตามระยะเวลาที่กำหนด
  • เงินสำหรับอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ. 2522

** จากเอกสารข้างต้นที่แจ้ง หากเราทำการตรวจสภาพรถที่ตรอ ทางตรอ.จะเป็นฝ่ายดำเนินการยื่นเอกสารของเราให้กับทางขนส่งเอง เราเพียงแค่ตรวจสอบพรบ.รถยนต์ของเราว่า หมดเมื่อไหร่ หรือ ต่อพรบ.ไปแล้วหรือยัง หากยังก็นำรถเข้าไปตรวจสภาพที่สถานที่ตรอ.ใกล้บ้านและแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่าต่อพรบ.พร้อมภาษีได้เลย หรือถ้าเราพึ่งต่อพรบ.มา ก็สามารถทำแค่เฉพาะภาษีได้เหมือนกัน เพียงเท่านี้ ก็เสร็จสมบูรณ์ รอรับเอกสารที่จะจัดส่งไปให้ที่บ้านได้เลย


พรบ.รถ และ การตรวจสภาพรถ เท่าไหร่บ้าง..?

อัตราค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. สำหรับรถยนต์ ขึ้นอยู่กับประเภทรถ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • รถยนต์โดยสารที่นั่งไม่เกิน 7 คน 600 บาท/ปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท/ปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท/ปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท/ปี
  • รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท/ปี
  • รถยนต์ไฟฟ้า 600 บาท/ปี

หมายเหตุ : ราคาทั้งหมดยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

อัตราค่าตรวจสภาพรถ ขึ้นอยู่กับนำหนักของรถ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท


ภาษีรถยนต์แต่ละประเภท

สำหรับรถยนต์แต่ละประเภทนั้นมีกำหนดอัตราค่าภาษี และวิธีจัดเก็บ คำนวณภาษีแตกต่างกันไป ดังนี้

1. จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซี.ซี.) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน จัดเก็บเป็นรายคัน ได้แก่

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
  • รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
  • รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
  • รถพ่วงประเภทอื่น ๆ คันละ 100 บา
  • รถบดถนน คันละ 200 บาท
  • รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท

*** หมายเหตุ : ปัจจุบันรถจักรยานยนต์สาธารณะกรมการขนส่งทางบกได้ปรับลดอัตราการเก็บภาษีลง 90% เหลือเพียงคันละ 10 บาททั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือในเรื่องค่าครองชีพ ซึ่งจะมีผลไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2566

2. จัดเก็บตามน้ำหนัก ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน

  • รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด รถยนต์บริการ
  • รถยนต์รับจ้าง
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล รถลากจูง รถแทรกเตอร์ที่มิได้ใช้ในการเกษตร

3. การจัดเก็บภาษีรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้า

  • หากเป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ให้เก็บภาษีตามน้ำหนักของรถในอัตรารถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
  • กรณีเป็นรถประเภทอื่นให้จัดเก็บเป็นรายคันหรือจัดเก็บตามน้ำหนักในอัตราครึ่งหนึ่ง


ต่อภาษีรถยนต์ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ในส่วนของรถยนต์นั่งทั่วไป หรือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งนั้น จะจัดเก็บภาษีตามความจุกระบอกสูบ (ซี.ซี.) ดังนี้

  • ความจุกระบอกสูบ 600 ซี.ซี. แรก – ซี.ซี.ละ 0.50 บาท
  • ความจุกระบอกสูบ 601 – 1,800 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ 1.50 บาท
  • ความจุกระบอกสูบ เกินกว่า 1,800 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ 4.00 บาท

    *** หมายเหตุ – หากเป็นรถของนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ จะต้องเสียภาษีในอัตราสองเท่า


ทั้งนี้หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี ให้ได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อ ๆ ไป ดังนี้

  • ปีที่ 6 ร้อยละ 10
  • ปีที่ 7 ร้อยละ 20
  • ปีที่ 8 ร้อยละ 30
  • ปีที่ 9 ร้อยละ 40
  • ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50


*** ตัวอย่างการคำนวณภาษี รถกระบะ 4 ประตู เครื่องยนต์ขนาดความจุกระบอกสูบ 2,755 ซี.ซี.

600 ซี.ซี. แรก – ซี.ซี. ละ 0.50 บาท วิธีคิด 600 x 0.5 = 300 บาท
601 – 1,800 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ 1.50 บาท วิธีคิด (1,800 – 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
1,801-2,755 ซี.ซี. – ซี.ซี. ละ 4 บาท วิธีคิด (2,755-1,800) = 955 x 4 = 3,820
– นำตัวผลลัพธ์ของแต่ละช่วง ซี.ซี. มาบวกกัน = 300+1,800+3,820 = 5,920 บาท

กรณีที่รถมีอายุการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป ก็จะได้รับการลดหย่อนภาษีตามเกณฑ์ เช่น

  • เมื่ออายุรถเข้าปีที่ 6 นำ 5,920-10% = 5,328 บาท
  • เมื่ออายุรถเข้าปีที่ 7 นำ 5,920-20% = 4,736 บาท
  • เมื่ออายุรถตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป 5,920-50% = 2,960 บาท


ต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้กี่วัน

กรมการขนส่งทางบก กำหนดให้สามารถต่อภาษีรถยนต์ล่วงหน้าได้ 90 วัน ก่อนครบอายุภาษี โดยเมื่อเตรียมเอกสารหลักฐานเรียบร้อยแล้วสามารถเลือกใช้บริการช่องทางต่าง ๆ ได้โดยมีเงื่อนไขคือ

  • หากเป็นรถเก๋ง รถกระบะ รถตู้ ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี ไม่มีภาษีค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี สามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ และช่องทางอื่น ๆ ได้ทันที
  • ส่วนรถที่เข้าข่ายต้องตรวจสภาพก่อนชำระภาษี แนะนำให้ใช้บริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) , บริการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax) ที่ห้างสรรพสินค้าในวันเสาร์-อาทิตย์ , ที่ทำการไปรษณีย์ หรือ ธนาคารที่ร่วมโครงการกับกรมการขนส่งทางบก หรือ ที่สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ


ต่อภาษีรถยนต์ช้า ค่าปรับเท่าไหร่…?

การชำระภาษีรถประจำปีล่าช้าจะมีค่าปรับในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือน และหากขาดการติดต่อกันเกิน 3 ปี จะส่งผลให้ทะเบียนรถถูกระงับทำให้ไม่สามารถดำเนินการทางทะเบียน อย่างเช่น การโอนเปลี่ยนชื่อ แจ้งเปลี่ยนสี แก้ไขรายการคู่มือรถได้ เป็นต้น


*** นอกจากนี้จะมีรถบางประเภทที่ไม่สามารถตรวจสภาพได้ที่ ตรอ. ของเอกชน ต้องนำไปให้นายทะเบียนตรวจสภาพที่หน่วยงานของกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น ได้แก่

  • รถที่ดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้
  • รถที่เปลี่ยนสี หรือ เปลี่ยนแปลงตัวรถ หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ในสมุดคู่มือทะเบียนรถ (เช่น เปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนลักษณะรถ เปลี่ยนชนิดน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น)
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ หรือ เลขเครื่องยนต์ (เช่น ไม่ปรากฏตัวเลข ตัวเลขชำรุด หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูด ลบ หรือ ลบเลือน จนไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ เป็นต้น)
  • รถที่เจ้าของได้แจ้งการไม่ใช้ชั่วคราว หรือ แจ้งการไม่ใช้รถตลอดไปไว้
  • รถเก่าที่มีเลขทะเบียนเป็นเลขทะเบียนรุ่นเก่า (เช่น กท-00001, กทจ-0001 เป็นต้น) ซึ่งรถดังกล่าวต้องเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่เมื่อมีการนำมาเสียภาษีประจำปี
  • รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับการถูกโจรกรรมแล้วได้คืน
  • รถที่ได้สิ้นอายุภาษีประจำปี (ขาดต่อทะเบียน) เกิน 1 ปี


ด้วยความปรารถนาดีจาก เพจ ประกันรถถูกๆ ต่อง่ายๆ คุ้มครองเลย

สาระน่ารู้เรื่อง ประกันรถยนต์ที่ จริงจัง จริงใจ จริงจริง ♥

สนใจซื้อประกันรถยนต์ คลิ๊ก

Scroll to Top